วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันพุธที่ 13 พฤษศจิกายน พ.ศ 2562

วันนี้อาจารย์มาคุยกันเกี่ยวกับเรื่องให้ทำสื่อทดลองของใครของมันอย่างละหนึ่งชิ้นแบบอืมอีกหนึ่งชิ้นตัวดิฉันเองเลือกทำนาฬิกาทรายอาจารย์ได้ให้คำแนะนำว่าถ้าจะทำนาฬิกาทรายต้องแบ่งออกเป็นสองอันและกลับเวลาคนละเวลาวันนี้ไม่มีอะไรมากอาจารย์ได้คุยเกี่ยวกับเรื่องสื่อที่เราจะทำอธิบายเป็นรายกลุ่มแล้วก็เข้าไปหาอาจารย์เป็นหลายคนว่าจะทำยังไงให้ออกมาดีหลังจากนั้นอาจารย์ก็ปล่อยให้เราไปทำสื่อที่เราเลือก 

ดิฉันทำนาฬิกาทราย





วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันนี้ อาจารย์ได้ให้แต่จัดกิจกรรมครั้งที่2 ที่ชุมชนศูนย์เด็กเล็กเสือใหญ่ ไปจัดกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ ให้กับเด็กเด็กได้ดู วันนี้กลุ่มของดิฉันได้เป็นกลุ่มทดลองที่ วิทยาศาสตร์ ให้กับเด็กเด็กดู กลุ่มดิฉันได้ทำการทดลองภูเขาไฟลาวา ปัญหาที่เราพบก็คือเด็กเด็กไม่ค่อยให้ความสนใจเวลาที่เราถามเด็กเด็กก็จะไม่ค่อยตอบเลยทำให้การทดลองไม่ค่อยสนุกอาจจะเป็นเพราะว่าเด็กเด็กเนี่ยอายที่จะตอบมีเด็กบางคนเท่านั้นที่เราถามอะไรดีดีก็จะตอบแล้วก็มีเด็กอีกส่วนหนึ่งคือเด็กที่พูดไม่ค่อยฟังนี่แหละค่ะคือปัญหาของกลุ่มเราแล้วก็มีส่วนที่เรายังไม่ค่อยกล้าแสดงออกไม่สามารถทำให้มันออก

มาสนุกได้อันนี้ก็เป็นข้อผิดพลาดของกลุ่มเราเองด้วยนะ
อาจารย์ก็ให้เราทำกิจกรรมหลังจากที่พวกเราทดลองก็คือการเล่านิทานให้กับเด็กเด็กฟังแต่ว่าเราจะไม่ได้ถามเพราะว่ากลุ่มนี้จะเป็นของกลุ่มซับพอร์ทเพื่อนก็เราออกมาได้ดีแต่ว่ายังเตรียมพร้อมมาไม่ค่อยดีไม่มีข้อผิดพลาดเยอะ
ภาพกิจกรรม












การประเมิน
ประเมินตนเอง : ยังทำไม่เต็มที่เพราะว่ากล้าๆกลัวๆ
ประเมินเพือน : เพื่อนบางคนก็เต็มที่กับงานบางคนก็ยังไม่ค่อยกล้าแสดงออก
ประเมินอาจาร์ย : ก็หลังจากจบกิจกรรมอาจารย์ก็ให้ข้อแนะนำดีดีบอกว่าทำไมถึงเกิดขึ้นแบบนี้ทำไมมันถึงเป็นแบบนี้อยากจะให้อาจารย์บอกพวกเราให้มากกว่านี้ด้วย
บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พศ 2562



วันนี้อาจารย์ได้ให้เราไปทำกิจกรรมที่ศูนย์เด็กพัฒนาเด็กเล็กซอยเสือใหญ่อาจารย์ได้ให้เราไปจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ที่เราได้ทดลองให้อาจารย์ดูสองครั้งแล้ววันนี้ก็เป็นการลงพื้นที่จริงอาจารย์ได้ให้เราไปทำการทดลองให้กับเด็กเด็กดูซึ่งอาจารย์จะแบ่งเป็นสองกลุ่มมีกลุ่มจัดกิจกรรมและกลุ่มสนับสนุนซึ่งกลุ่มจัดกิจกรรมก็จะจัดกิจกรรมให้เด็กเด็กดูทดลองทยาศาสตร์ส่วนกลุ่มที่เป็นกลุ่ม Supportหรือสนับสนุนอาจารย์ก็ จะให้คอยช่วยดูเด็กเด็กคอยช่วยเรื่องการดูการเดินการนั่งในแต่ละกลุ่ก็ทำหน้าที่ตามที่อาจารย์ได้มอบหมายให้


เริ่มกิจกรรม
เริ่มกิจกรรมโดยการที่อาจารย์ให้เราได้เก็บเด็กเป็นเพลงสอนให้เราจัดกิจกรรมให้กับเด็กสอนให้เด็กจัดแถวแล้วจะหลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้พวกเราแบ่งกลุ่มเด็กเด็กออกเป็นสามกลุ่มไปดูการทดลองในแต่ละกลุ่มที่พวกเราจัดเอาไว้
วันนี้ก็มีสามกลุ่มการทดลองมีเรื่อง
1. ลูกโปร่งพ่องโต

2. เกลือและพริกไทย
3.น้ำมันและน้ำแยกชั้น
ภาพกิจกรรม






ประเมิน
ประเมินตนเอง : ยังรู้สึกว่าตัวเองยังทำไม่เต็มที่พอในการทำกิจกรรมยังกากากกกลัวเพราะว่าเป็นการทำหรือลงพื้นที่จริง

ประเมินเพือน : เพื่อนบางคนก็ทำหน้าที่ได้ดีส่วนเพื่อนอีกบางคนก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องทำอะไรยังกล้าๆกลัวๆอยู่

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ก็สนับสนุนดีคอยบอกคอยสอนเวลาที่เราทำไม่ถูกต้องแต่ก็อยากให้อาจารย์เนี่ยปล่อยพวกเราให้ทำเองบ้างแล้วถ้ามีตรงไหนอาจารย์ค่อยมาติหรือบอกตอนท้าย
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ 2562


วันนี้อาจารย์ได้ให้เพื่อนแต่ละคนออกมาทดลอง อีกหนึ่งครั้งก่อนที่จะออกไปสอนเด็กเด็กที่มูลนิธิเสือใหญ่การทดลองก็เป็นการทดลองที่เคยทำมาแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อนสัปดาห์นี้อาจารย์ก็เลยได้ให้ความรู้เน้นย้ำอีกทีว่าเราจะต้องพูดยังไงก็ต้องสอนเด็กยังไงให้แม่นกว่าเดิมก่อนจะออกฝึกสอนจริงๆ

กลุ่มที่ 1 ลูฏโปร่งพองโต


กลุ่มที่ 2 การแยกเกลือและพริกไทย


กลุ่มที่ 3 การแบ่งชั้น ทราย ดิน น้ำมัน

กลุ่มที่ 4 ภูเขาไฟลาวา

กลุ่มที่ 5 ลูกข่างหลากสี 



----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กิจกรรมที่ 1
หลังจากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษคนละหนึ่งแผ่นให้เราพับครึ่งตามแนวยาวแล้วนำกระดาษมาตัดครึ่งตามแนวนอนโดยใช้กระดาษด้านบนเกินด้านล่าง 1 นิ้วจากนั้นให้ว่ารูปที่เราสนใจให้มันต่อเนื่องกันและเมื่อเราทำเสร็จเราก็เปิดปิดใช้สลับด้วยความเร็วเราจะเห็นภาพเป็นภาพเคลื่อนไหวสลับกันไปมา
ดิฉันเลือกวาด รูปต้นไม้ในอีกรูปหนึ่งก็เป็นรูปต้นไม้ที่มีนกฮูกก็เท่ากับว่าถ้าเราเปิดปิดภาพนี้เร็วเร็วก็จะเกิดภาพนกฮูกอยู่บนต้นไม้

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กิจกรรมที่ 2
อาจารย์ได้ให้นำกระดาษที่เหลือจากกิจกรรมที่หนึ่งมาตัดครึ่งและแบ่งครึ่งอีกครั้งแล้วก็ให้ว่าลูกพี่มันสัมพันธ์กันลงไปสองแผ่นโดยแต่ละแผ่นต้องอยู่ในตำแหน่งที่สอดคล้องกันเราก็ให้นำเศษกระดาษที่เหลือมาเป็นหมายจับแล้วหลังจากนั้นเราก็ปั่นก็จะเกิดภาพที่เป็นมิติสองมิติขึ้นมา ดิฉันเลือกภาพลูกบอลที่อยู่ในกรอบเวลาปั่นออกมาก็จะเป็นภาพที่บอลอยู่ในกล่อง



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กิจกรรมที่ 3
อาจารย์ได้ให้ประดิษฐ์ของเล่นจากเศษกระดาษหนึ่งชิ้นจะทำอะไรก็ได้ซึ่งให้มันสอดคล้องกัวิทยาศาสตร์ดิฉันก็เลยเลือกทำ ของเล่นที่มำให้เกิดเสียง เพราะเสียงเกิดจาก เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหล และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ 
การเกิดเสียง
เสียง เริ่มเกิดขึ้นเมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียงมีการสั่นสะเทือนส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของอากาศที่อยู่โดยรอบ กล่าวคือโมเลกกุลของอากาศเหล่านี้จะเคลื่อนที่จากตำแหน่งเดิมไปชนกับโมเลกุลที่อยู่ถัดไป ก่อให้เกิดการถ่ายโอนโมเมนตัมจากโมเลกุลที่มีการเคลื่อนที่ให้กับโมเลกุลที่อยู่ในสภาวะปกติ จากนั้นโมเลกุลที่ชนกันนี้จะแยกออกจากกันโดยโมเลกุลที่เคลื่อนที่มาจะถูกดึงกลับไปยังตำแหน่งเดิมด้วยแรงปฏิกิริยาและโมเลกุลที่ได้รับการถ่ายโอนพลังงานจะเคลื่อนที่ไปชนกับโมเลกุลที่อยู่ถัดไป ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นสลับกันไปมาได้เมื่อสื่อกลาง (ในที่นี้คืออากาศ) มีคุณสมบัติของความยืดหยุ่น การเคลื่อนที่ของโมเลกุลอากาศนี้จึงเกิดเป็นคลื่นเสียง

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำศัพท์
1. Sound การเกิดเสียง
2.Trial การทดลอง
3.  teach สอน
4.review ทบทวน
5.activities กิจกรรม

ประเมิน
ประเมินตนเอง : ได้ทำกิจกรรมสนุกตั้งใจ
ประเมินเพือน : เพือนๆตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ก็ตั้งใจสอนแต่ก็มีตรงที่เราไม่เข้าใจอยากให้อาจารย์ใจเย้นๆกว่านี้ค่ะ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

2 ตุลาคม พ.ศ 2562


วันนี้อาจารย์ได้ให้ไปดูที่พี่จัดนิทรรศการหลังจากฝึกสอนเสร็จแล้ว1 เทอม
ความรู้ที่ได้รับ

รุ่นพี่ได้ทำโปรเจ็คเรื่องเรือสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้การเรียนรู้ทฤษฎีของ ไฮสโคม
 การจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคป (High Scope) นั้น   เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือทำผ่านมุมกิจกรรมที่หลากหลาย ที่มีสื่อและการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเป็นตัวช่วย โดยปล่อยให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระด้วยตัวเอง มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage’s Theory) ที่ว่าด้วยการพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning) ผ่านการกระทำของตน และการประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน

             ที่มาของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนั้น เริ่มต้นจากการที่ ดร.เดวิด ไวคาร์ท (Dr.David Weikart) ประธานมูลนิธิวิจัยการศึกษาไฮ/สโคป (High Scope Educational Research Foundation) ได้ร่วมทำงานกับคณะวิจัย อาทิเช่น แมรี่ โฮแมน (Mary Hohmann) และ ดร.แลรี่ ชไวฮาร์ต (Dr.Larry Schweinhart) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคป ซึ่งใช้พื้นฐานจากโครงการเพอรี่ พรี สคูล (Perry Preschool Project) ที่มีมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2505 โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสให้มีการศึกษาที่เหมาะสม และประสบความสําเร็จในชีวิต

             ในการศึกษาวิจัยในครั้งนั้น มูลนิธิได้ศึกษาเปรียบเทียบเด็ก 3 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มที่ได้รับการสอนจากครูโดยตรง (Direct Instruction) กลุ่มเนอร์สเซอรี่แบบดั้งเดิม (Traditional Nursery) และกลุ่มที่ได้รับประสบการณ์โปรแกรมไฮ/สโคป ซึ่งจากการศึกษาติดตามเด็กเหล่านี้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอายุ 29 ปี พบว่ากลุ่มที่เรียนด้วยโปรแกรมไฮ/สโคปนั้น มีปัญหาพฤติกรรมทางสังคม-อารมณ์ เช่น การถูกจับข้อหาลักขโมย ทำร้ายผู้อื่น บกพร่องทางอารมณ์ และล้มเหลวในชีวิตน้อยกว่าอีก 2 กลุ่มขั้นต้น จึงอนุมานได้ว่า โปรแกรมนี้มีผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กและการเติบโตของเขาในอนาคต
  หัวใจของไฮ/สโคป
             หลักปฏิบัติสำคัญที่ถือเป็นหัวใจของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนั้น  ประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการ อันได้แก่
             1. การวางแผน (Plan) เป็นการให้เด็กกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ โดยคุณครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กสนทนากับครู หรือสนทนาระหว่างเพื่อนด้วยกัน เพื่อวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กต้องมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ ซึ่งอาจจะบันทึกด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูช่วยบันทึกก็ได้ ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง ทําให้เด็กสนใจในกิจกรรมที่ตนเองได้วางแผนไว้
             2. การปฏิบัติ (Do) คือ การให้เด็กลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด โดยเน้นให้เด็กได้ช่วยกันคิด ทดลองและแก้ปัญหาร่วมกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์ ค้นพบความคิดใหม่ๆ โดยคุณครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและให้คำแนะนำ มากกว่าจะลงไปจัดการด้วยตัวเอง การทบทวน
             3. (Review) คือกระบวนการที่ให้เด็กสะท้อนผลงานของตัวเองที่ได้ลงมือทำผ่านการพูดคุยหรือแสดงผลต่างๆ เพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบไฮ/สโคป

             องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปที่นับว่าเป็นจุดเด่นของการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้ และทำให้เป็นรูปแบบการเรียนรู้นี้แตกต่างจากแนวการจัดการเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ นั้น จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึง 6 องค์ประกอบด้วยกัน จึงจะทำให้การจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 6 ข้อ มีดังนี้
             1. เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มในการเลือกและตัดสินใจทำกิจกรรมและใช้เครื่องมือต่างๆตามความสนใจของตัวเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากกว่าได้รับการบอกต่อความรู้จากผู้ใหญ่
             2. จัดเตรียม สื่อและวัสดุอุปกรณ์ ในห้องเรียนให้มีความหลากหลาย และเหมาะสมกับอายุของเด็ก เพื่อให้เด็กมีโอกาสเลือกวัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ และควรมีการจัดเก็บอย่างเหมาะสม เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานของเด็ก ซึ่งองค์ประกอบนี้ช่วยให้เด็กรู้จักการเชื่อมโยงการกระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาส ในการแก้ปัญหามากขึ้น
             3. พื้นที่และเวลาในห้องเรียนแบบไฮ/สโคป ต้องมีพื้นที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมของเด็ก ทั้งการทำกิจกรรมคนเดียวและการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม รวมถึงมีการจัดมุมประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ผ่านบทบาทสมมุติในมุมประสบการณ์ต่าง ๆ และควรจัดสรรเวลาในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละวันให้เพียงพอ โดยไม่มากหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะช่วยให้เด็กรู้จักการรักษาเวลาอีกด้วย
             4. เน้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับวัตถุและนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ และความเกี่ยวข้องของวัตถุนั้นได้ด้วยตัวเอง
             5. ภาษาจากเด็ก เป็นสิ่งที่เด็กสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็กออกมาเป็นคำพูด ซึ่งเด็กมักจะเล่าว่าตนเอง กําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วในแต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความคิด เด็กจะรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
             6. ครูคือผู้สนับสนุนและชี้แนะ ซึ่งครูในรูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่คอยรับฟังและส่งเสริมให้เด็กคิด ทําสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง และเป็นผู้สร้างสรรค์ห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้พบกับประสบการณ์สําคัญมากมาย ในชิวตประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติ
   การจัดการเรียนรู้แบบ ไฮ/สโคป (High Scope) นั้น ถือเป็นแนวการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็ก โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นแนวทางที่น่าสนใจมากแนวทางหนึ่ง และในปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจจากสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการในการเผยแพร่แนวการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้ โดยเห็นได้จากมีโครงการนำแนวการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนี้ ไปนำร่องพัฒนาห้องเรียนอนุบาลใน 82 โรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นโรงเรียนต้นแบบก่อนขยายสู่โรงเรียนอนุบาลอื่น ๆ
             นวัตกรรมจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดไฮ/สโคปนั้น นับได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งที่ตอบโจทย์ของการจัดการศึกษาที่มีที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบ Active Participatory Learning คือ การให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับคน สิ่งของ เหตุการณ์ และความคิด ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญในโลกยุคสมัยนี้เป็นอย่างยิ่ง

ให้กับครูการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมเด็กดีระดมสมองที่ร่วงหาเรื่องที่อยากเรียนประสบการณ์เดิมของเด็กเด็กเด็กเคยขึ้นเรือไหมให้ถามคำถามเกี่ยวกับเรือกับเด็กๆ
โครงร่างวิจัย
ตั้งคำถามก่อนเล่าประสบการณ์เดิมมีให้เด็กวาดภาพขึ้นกับสิ่งแวดล้อมเด็กรู้เรื่องเรือคืออะไรประเภทของเรือส่วนประกอบต่างๆอุปกรณ์วัสดุเรือมีกี่สีเรือมีกี่ชนิดมีการทำแห่งชาติเกี่ยวกับเรือกิจกรรมทัศนศึกษาการเขียนแผนก็คือแบ่งตามประสบการณ์ประเภทกิจกรรมสาระการเรียนรู้ขั้นตอนการทำขั้นสอน ขั้นสรุป จะประเมินผล
________________________________________________________________________
ภาพกิจกรรม













วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ 2562
บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

                 วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาทำการทดลองหลังจากที่อาจารย์ได้สั่งไปว่าแต่ละกลุ่มจะต้องมีการทดลอง 1 อย่างตอนที่ตัวเองสนใจมาลองเสนอให้อาจารย์ดูเพื่อออกไปสอนในสถานการณ์จริง
                  กลุ่มที่ 1 ลูกโปร่งพ่องโต 
สิ่งที่ต้องใช้

Ø น้ำส้มสายชู
Ø ขวดแก้ว
Ø ผงเบคกิ้งโซดาØ ลูกโป่ง

วิธีการทดลอง
Ø ใส่น้ำส้มสายชูลงในขวดแก้ว
Ø จากนั้นนำผงเบคกิ้งโซดาหรือผงฟูใสลงในลูกโป่ง
Ø นำลูกโป่งที่ใสเบคกิ้งโซดาลงไปแล้วสวมที่ปากขวด
Ø ค่อย ๆ เทผงเบคกิ้งโซดาที่อยู่ในลูกลงในขวดแก้วที่มีน้ำส้มสายชู
Ø สังเกตและบันทึกผล


ผลจากการทดลอง
        
            การทดลองนี้มีสารที่เด็กๆ รู้จักมาบ้างแล้วจากการทดลองที่ผ่านมา คือ ผงฟู เบกิ้งโซดา กรดมะนาว เราได้ทำการทดลองโดยใส่สารที่มีปริมาณแตกต่างกัน ให้เด็กสังเกตและเมื่อเติมน้ำหรือเปลี่ยนเป็นน้ำมะนาว   บ้าง น้ำส้มสายชูบ้าง ให้เด็กสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง ความแตกต่าง คุณครูได้จดบันทึกคำพูดของเด็กๆ แทบไม่ทันทีเดียว หลังจากนั้นก็ใช้สารทุกชนิดใส่ในแต่ละขวด ใส่น้ำหรือน้ำส้มสายชู สังเกตลูกโป่งแต่ละลูก



_________________________________________________________________________________

                กลุ่มที่ 2 ภูเขาไฟลาวา

วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการทดลอง

     1.ดินน้ำมัน

     2.เบคกิ้งโซดา

  • 3.น้ำส้มสายชู
  • 4.สีน้ำหรือสีผสมอาหาร
  • 5.ขวดน้ำพลาสติก
  • 6.ปิเปตต์หรือไซริงค์ฉีดยา
  • 7.ถาดหรือจานรอง (สำหรับทำเป็นฐานของภูเขาไฟ)
  • 8.ภาชนะสำหรับผสมสีกับน้ำส้มสายชู
  • ขั้นตอนการทดลอง

    1. ก่อนเริ่มการทดลองให้คุณครูหรือผู้ปกครองแนะนำวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้ทำการทดลอง เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจแล้วถามเด็ก ๆ ถึงการทดลองในครั้งนี้ ว่าจะทำอะไร และสิ่งที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร พร้อมจดบันทึกคำตอบไว้เพื่อดูพัฒนาการของเด็กในการทดลองครั้งต่อไป
  • 2. หลังจากพูดคุยกับเด็ก ๆ แล้ว เราก็มาทำภูเขาไฟจำลองกันค่ะ โดยให้เด็ก ๆ นำขวดน้ำพลาสติกมาวางบนถาดหรือจานรอง จากนั้นใช้ดินน้ำมันแปะตามขวดน้ำให้เป็นรูปทรงของภูเขาไฟ (ให้เริ่มแปะดินน้ำมันจากฐานหรือจานรองไปถึงขอบปากขวดค่ะ) ซึ่งในขั้นตอนนี้คุณครูหรือผู้ปกครองสามารถให้เด็ก ๆ ตกแต่งภูเขาไฟตามจินตนาการได้เลยค่ะ
    3. หลังจากทำภูเขาไฟจำลองเสร็จแล้ว ให้เด็ก ๆ ใช้ปิเปตต์หรือไซริงค์ฉีดยาดูดสีผสมอาหารมาผสมกับน้ำส้มสายชู โดยกะปริมาณน้ำส้มสายชูให้ให้เกินครึ่งขวดน้ำที่ใช้ทำภูเขาไฟนะคะ เพราะถ้าใส่น้ำส้มสายชูน้อยเวลาที่ลาวาพุ่งออกมาจะไม่ค่อยสูงและทำให้ปริมาณของลาวาที่ไหลออกมาค่อนข้างน้อย
  • 4. นำน้ำส้มสายชูที่ผสมกับสีผสมอาหารเสร็จแล้ว เทลงไปในภูเขาไฟจำลองที่เตรียมไว้ ทั้งนี้คุณครูหรือผู้ปกครองต้องคอยระวังไม่ให้เด็กเทน้ำสีหกด้วยนะคะ
  • 5. แล้วก็มาถึงขั้นตอนที่ตื่นเต้นและสำคัญที่สุด นั้นคือการเทเบคกิ้งโซดาลงไปในภูเขาไฟค่ะ ซึ่งเบคกิ้งโซดาจะทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูที่เราเทไว้ก่อนหน้านี้ ทำให้เกิดควันและมีลาวาไหลออกมาจากภูเขาไฟของเรานั้นเองค่ะ ในการทดลองภูเขาไฟลาวา คุณครูหรือผู้ปกครองสามารถให้เด็กเทเบคกิ้งโซดาได้เรื่อย ๆ จนกว่าน้ำสายชูภายในภูเขาไฟจะหมดหรือส่วนผสมทั้ง 2 อย่างจะหมดปฏิกิริยาค่ะ ในการเทบางครั้งลาวาอาจไม่ได้ปะทุขึ้นมาทันที คุณครูหรือผู้ปกครองสามารถใช้โอกาสนี้ในการสอนเด็ก ๆ ให้รู้จักเรียนรู้การรอคอยได้อีกด้วยค่ะ
  • ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น เป็นผลจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างเบคกิ้งโซดา(ด่าง/เบส)และน้ำส้มสายชู(กรด)ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดันตัวออกนี้เองที่ทำให้เกิดภูเขาไฟลาวาของเรานั้นเองค่ะ

  • ________________________________________________________________________
       กลุ่มที่ 3 การลอยจมของน้ำมัน
อุปกรณ์




 ขวดแก้ว หรือพลาสติกใส แบน
 กรวยพลาสติก
 แอลกอฮอล์
 น้ำมันพืช
 สีผสมอาหาร
 น้ำ

วิธ๊ทำ




1. ใส่น้ำสะอาดลงในขวดประมาณครึ่งขวดแล้วหยดสีผสม อาหารลงไป 2-3 หยด เขย่าให้เข้ากัน
2. ใส่น้ำมันพืชลงในขวดประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ โดยใช้กรวยช่วย
3. ใส่แอลกอฮอล์ในขวดโดยใส่ทับลงไปบนชั้นของน้ำมัน สังเกต สิ่งที่เกิดขึ้น ว่าน้ำมันจะมีลักษณะอย่างไร
4. ค่อยๆ เติมแอลกอฮอล์ลงไป จนชั้นของน้ำมันกลายเป็นลูก กลมลอยอยู่กลางน้ำสี จึงหยุดเติม



_________________________________________________________________________________

กลุ่มที่ 4 การแยกเกลือกับพริกไทย
อุปกรณ์

1. ผ้าขนสัตว์
2. กลือเม็ดขนาดปานกลาง
3. พริกไทยป่น
4. ชามใบเล็ก

การทดลอง

1. ผสมเกลือและพริกไทยลงในถ้วยใบเล็ก
2. ถูช้อนพลาสติกด้วยผ้าขนสัตว์
3. ถือซ้อนไว้เหนือส่วนผสมของพริกไทยและเกลืออย่าถือช้อนไว้ใกล้กับส่วนผสมมากเกิน
4. สังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้น

________________________________________________________________________________

กลุ่มที่ 5 ภาพเคลือนไหวในแสงที่แดงและสีเขียว
อุปกรณ์

1. ปกใสสีแดง และ สีเขียว
2. สีไม้สีแดง และ สีเขียว
3. กระดาษ A4

การทดลอง 

1. วาดรูปลงในกระดาษโดยใช้สีไม้สีแดงและสีเขียว
2. นำปกใสสีแดงวางทับบนกระดาษที่เราได้ทำการวาดรูป
3. เปลี่ยนเป็นนำปกสีเขียววางทับกระดาษที่เราวาดรูป
4. สังเกตุและเปรียบเทียบข้อแตกต่างของสิ่งที่เกิดขึ้น



_________________________________________________________________________________


กลุ่มที่ 6 ลูกข่างแสนสนุก
อุปกรณ์

1. แผ่นซีดี 
2. กระดาษที่ตัดคล้ายแผ่นซีดี
3. สีไม้
4. ลูกแก้ว
5. กินน้ำมัน
6. ปืนกาว

การทดลอง

1. ระบายสีลงในกระดาษที่เตรียมไว้ ให้เต็มแผ่น
2. นำกระดาษที่ระบายสีเรียบร้อบแล้วติดลงบนแผ่นซีดี
3. นำลูกแก้วไปติดไว้ตรงรูของแผ่นซีดีด้านล่างแล้วใช้ดินน้ำมันยึดและใช้ปืนกาวยิงอีกที
4. ทำการหมุนแผ่นซีดี แล้วสังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้น



__________________________________________________________________________


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Glass bottles ขวดแก้ว
2. Trial การทดลอง
3. Oil น้ำมัน
4. Salt เกลือ
5.volcano ภูเขาไฟ

ประเมิน
ประเมินอาจารย์: อาจารย์มีวิธีการสอนต่างๆให้หรอกเข้าใจละอธิบายให้เราเนี่ยเข้าใจมากยิ่งขึ้นรู้รายละเอียดของการเรียนเยอะมากขึ้นฝึกให้เราฝึกให้เราทำไม่อยากให้อาจารย์ลองฟังเหตุผลของเด็กดูเยอะๆบ้าง
ประเมินเพื่อน:เพื่อนก็ช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์แต่ว่าบางทีปิดเครื่องก็เลยแบบไม่อยากตอบบ้างมีเพื่อนส่วนหนึ่งก็เล่นบ้างอะไรบ้างไม่ได้สนใจอะไรมาก
ประเมินตนเอง :เวลาจารก่อนก็รู้สึกว่าตัวเองตั้งใจแล้วก็มีส่วนที่ไม่ฟังใจบ้างเพราะว่าวิชาการมันเยอะมากจนเกินไปจน ส่วนรอรับไม่ค่อยไหว



บันทึกการเรียนครั้งที่ 15  อาจารย์ไดสั่งทำงาน และแจกใบความรู้ ให้ทำงาน